ดิว.นินจา
Wednesday, December 26, 2018
แนะนำหนังสือ "ระบบควบคุมและอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อสรรพสิ่ง"
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของมนุษย์ การพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้จะช่วยให้สามารถทำงานตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างชาญฉลาด เช่นการสั่งงานและแสดงผลจากระยะไกล การตรวจสอบสถานะสินค้าโดยอัตโนมัติ การติดตามตำแหน่งผ่านระบบ GPS เป็นต้น ได้มีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า Internet of Things (IoT) หรือเรียกชื่อภาษาไทยว่า “อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อสรรพสิ่ง” ซึ่งใช้ในชื่อหนังสือ โดยจะใช้ตัวย่อ IoT เป็นหลักเพื่อความกระชับ
อย่างไรก็ตามแนวคิดการออกแบบสร้างอุปกรณ์ IoT นั้นสามารถมีได้หลากหลาย จากการสำรวจพบว่าในบรรดาเอกสารและข้อมูลในเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงการตรวจเฝ้า (monitoring) หรืองานควบคุมพื้นฐานในลักษณะ ON/OFF เป็นหลัก ตัวอย่างเช่นการแสดงค่าอุณหภูมิและความชื้น การปิด/เปิดหลอดไฟ หรือสั่งเปิดเครื่องปรับอากาศที่บ้าน แต่ในงานอุตสาหกรรมหลายประเภทต้องการการควบคุมที่ซับซ้อนกว่า โดยต้องการวัดค่าและป้อนกลับสัญญาณเพื่อความถูกต้องแม่นยำ เช่นระบบควบคุมตำแหน่ง ความเร็ว ความเร่ง ในเครื่องจักรกลอัตโนมัติ งานควบคุมระดับของเหลว หรือกระบวนการทางเคมี
หนังสือ "ระบบควบคุมและอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อสรรพสิ่ง" รวบรวมประสบการณ์ที่ได้จากการสอนและวิจัยด้านระบบควบคุมของผู้เขียน ผสมผสานเข้ากับนวัตกรรมของ IoT เพื่อพัฒนาตัวควบคุมที่เสถียรและมีสมรรถนะตามความต้องการของผู้ใช้ และสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงผล ส่งคำสั่งอ้างอิง และปรับพารามิเตอร์ควบคุมจากระยะไกล พลานต์ที่ใช้ทดลองในหนังสือเป็นการจำลองระบบจริงโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สามารถสร้างได้โดยง่าย เมื่อผู้พัฒนามีความเข้าใจถึงหลักการและโครงสร้างของอัลกอริทึมตัวควบคุมก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบจริงได้ โดยอาจเพิ่มเติมส่วนฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์เพื่อความปลอดภัยของระบบและเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น
เหตุผลที่ต้องใช้หลายภาคเพื่อต้องการให้เป็นพลานต์อันดับสูงที่ควบคุมยากขึ้น (หากต้องการทดสอบการทำงานขั้นพื้นฐานหรือศึกษาด้าน IoT อย่างเดียวอาจจะลดเหลือเป็นวงจร RC ภาคเดียวก็ได้) สังเกตว่าเมื่อไม่มีออปแอมป์คั่นระหว่างภาค ค่าของฟังก์ชันถ่ายโอนจะเปลี่ยนไป (โจทย์ปัญหาข้อ 1-3) รูปด้านล่างแสดงการต่อวงจรบนโปรโตบอร์ด เลือกค่า R = 10 กิโลโอห์ม C = 100 ไมโครฟารัด โมดูล ESP32 ที่ใช้คือ Node32 Lite จากบริษัท AyaraFun/LamLoei
โดยต่อ Vi กับ PWM Output ขา GPIO16 และ Vo กับ GPIO39 (ADC3)
เมื่อทดลองรันโปรแกรม lag3_freertos.ino จากบทที่ 8 พบว่าสามารถสื่อสารข้อมูลกับ NETPIE ได้เช่นเดียวกับการใช้บอร์ด LAG3
ด้านล่างแสดงภาพตัวอย่างจากด้านในหนังสือ
เพจหลักของหนังสือ "ระบบควบคุมและอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อสรรพสิ่ง" สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
แนะนำหนังสือ “ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266”
ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) คงมีน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เ...
-
สำหรับระบบฝังตัวทั่วไปหรืออุปกรณ์ไอโอที วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้ในการเพิ่มความฉลาดกับอุปกรณ์และความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน คือความสามารถในการจดจ...
-
เนื่องจาก NETPIE2020 เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว ดังนั้นตัวอย่างที่แสดงบนเว็บจะเน้นการใช้งานขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านการส่งคำสั่งให้กับ...
-
ในบทความนี้จะกล่าวถึงการใช้งาน Bluetooth บน ESP32 แบบธรรมดา (บางที่เรียกว่าแบบ classic) ซึ่งจะเขียนโปรแกรมง่ายกว่าแบบ BLE (Bluetooth Low En...
Playtech launches new slots suite with new games | JTM Hub
ReplyDeletePlaytech's latest slots suite with new 충청북도 출장안마 games 광명 출장마사지 Playtech's latest slots suite 논산 출장샵 with new games · Playtech, Live Casino, 속초 출장마사지 and 충주 출장안마 Live Blackjack · Playtech Slots