ดิว.นินจา

ดิว.นินจา

หนังสือ "การโปรแกรมจูเลียสำหรับวิศวกร"


ISBN : 978-616-586-527-2
ขนาด : 328 หน้า (A4)
ราคาปก : 320 บาท

เมื่อค้นหาคำว่า "จูเลีย" จากอินเทอร์เน็ตเรามักจะพบข้อมูลเกี่ยวกับจูเลีย โรเบิตส์ หรือแม้แต่ โรมีโอ จูเลียต บางท่านอาจยังไม่ทราบว่ามีภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อภาษาจูเลียซึ่งถือกำเนิดมาตั้งแต่ ค.ศ.2012 หากเปรียบก็เหมือนเด็ก 9 ขวบ อย่างไรก็ตามได้กลายเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก เพราะมีสมรรถนะดีและเหมาะสมกับการใช้งานทางคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ Alan Edelman หนึ่งในผู้ออกแบบจูเลียจากมหาวิทยาลัยเอ็มไอทีได้ใช้จูเลียเป็นเครื่องมือหลักในวิชา Introduction to Computational Thinking วิชาออนไลน์ยอดนิยมที่ผู้เขียนเข้าไปหาความรู้เพิ่มเติมเป็นประจำ และเป็นแรงจูงใจหลักในการเขียนหนังสือเล่มนี้่เพราะอยากให้ผู้อ่านได้ศึกษาและลองใช้งาน

เมื่อกล่าวถึงตรงนี้ ท่านอาจจะเคยเห็นบทความที่บรรยายสรรพคุณของจูเลียและกล่าวว่าจะมาแทนที่ไพธอน สร้างความไม่พอใจและก่อให้เกิดการโต้เถียงกัน (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) ตามความคิดของผู้เขียน ทั้งสองภาษามีข้อเด่นและข้อด้อยที่คงไม่มีการทดแทนกันได้ ความที่เป็นภาษาใหม่ทำให้ระบบนิเวศน์ (ecosystems) ข้องจูเลียยังด้อยกว่าไพธอนอยู่มาก รวมถึงการพัฒนาในแต่ละเวอร์ชันที่มักมีการเปลี่ยนแปลงของไวยากรณ์คำสั่งอยู่ตลอด ทำให้ผู้เริ่มต้นอาจเกิดความสับสนและท้อใจอยู่บ้าง เช่นหาแพ็กเกจที่ต้องการไม่ได้ ลงแพ็กเกจแล้วไม่สำเร็จ แน่นอนปัญหาเหล่านี้จะน้อยลงตามเวลา

ก่อนหน้านี้การโปรแกรมจูเลียในรูปแบบที่เหมาะกับการนำเสนอจะต้องใช้ สมุดบันทึกจูปิเตอร์ (Jupyter notebook)ที่ใช้กับไพธอนเป็นหลัก จุดเด่นของภาษาจูเลียมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีการพัฒนา สมุดบันทึกพลูโต (Pluto notebook) ที่สามารถใช้แพ็กเกจ PlutoUI สร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ใช้งานง่ายและตอบสนองได้ทันที (หลังการคอมไพล์โค้ด) ช่วยให้เราสามารถจำลองเอาต์พุตจากฟังก์ชันหรืออัลกอริทึมเมื่อพารามิเตอร์มีการเปลี่ยนแปลง เช่นผลตอบสนองขั้นบันไดจากการปรับอัตราขยายตัวควบคุม PID ในการบ้านและการสอบออนไลน์สำหรับวิชาที่ผู้เขียนสอนปัจจุบัน เช่นหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จะให้ผู้เรียนเลือกระหว่างไพธอนกับจูเลียในการทำโจทย์ปัญหาที่เหมือนกัน พบว่าเริ่มมีผู้เลือกจูเลียบนสมุดบันทึกพลูโตมากขึ้น ผู้เขียนคาดหวังว่าหนังสือ "การโปรแกรมจูเลียสำหรับวิศวกร" จะสามารถช่วยนำทางให้ผู้ต้องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่นี้ในงานด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์ หรือ วิทยาการข้อมูล เช่นการวิเคราะห์และคำนวณปัญหาบนพื้นฐานของพีชคณิตเชิงเส้น การประมวลผลภาพ ฟังก์ชันและอนุพันธ์ ปัญหากำลังสองน้อยสุด ระบบควบคุม และการเรียนรู้เชิงลึก โดยจะรวบรวมสื่อที่เป็นประโยชน์ เช่นสมุดบันทึก วีดีโอ ไว้ใน หน้าเพจสำหรับหนังสือ

วีดีโอตัวอย่างเล่มพิมพ์

No comments:

Post a Comment

แนะนำหนังสือ “ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266”

ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) คงมีน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เ...