ดิว.นินจา

ดิว.นินจา

Thursday, May 25, 2017

แนะนำหนังสือ “ระบบควบคุมฝังตัว”

ระบบควบคุมเป็นวิชาที่มีพื้นฐานบนหลายสาขาด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องกล และในยุคดิจิทัลนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก ทั้งทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบโดยซอฟต์แวร์ จนถึงการอิมพลีเมนต์บนระบบคอมพิวเตอร์เฉพาะที่มีทรัพยากรจำกัดที่เรียกว่า ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Systems) จึงเป็นที่มาของชื่อหนังสือ “ระบบควบคุมฝังตัว (Embedded Control Systems)” หนา 374 หน้า จัดทำโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีในรูปแบบ e-book และพิมพ์เป็นเล่มจำนวนจำกัด *

แนะนำหนังสือ “ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266”

ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) คงมีน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เพื่อการเรียนรู้และสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน ดังนั้นหากอุปกรณ์หรือ เครื่องจักรสามารถสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้ก็จะช่วยทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพและความชาญฉลาดมากขึ้น หากย้อนเวลากลับไปจะพบว่าความพยายามที่จะทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นมีมานานมากตั้งแต่ ค.ศ. 1982 คือตู้บรรจุน้ำอัดลมที่ Carnigie Mellon University ที่สามารถรายงานว่ามีจำนวนคงคลังในตู้เหลือเท่าไร และน้ำอัดลมในตู้เย็นพอหรือยัง ซึ่งในสมัยนั้นคงเป็นเครื่องใช้ที่เกินความจำเป็นสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ในสมัยนี้แทบทุกคนอยากจะสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือ เหตุผลสำคัญก็คือฮาร์ดแวร์ที่ใช้พัฒนามีราคาต่ำลงมาก และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ครอบคลุมแทบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตชุมชน การปรับปรุงโปรโตคอลจาก ipv4 เป็น ipv6 ช่วยให้อุปกรณ์ทั่วโลกสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหา IP address ไม่เพียงพอ

Wednesday, May 24, 2017

Arduino Basics: การอ่านค่าจากเซนเซอร์วัดแรง

Arduino เป็นบอร์ดทดลองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันโดยเฉพาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมสำหรับระบบฝังตัว ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความคิดที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้งาน Arduino บนเว็บนี้ โดยตั้งชื่อชุดของบทความนี้ว่า Arduino Basics ซึ่งโดยทั่วไปจะกล่าวถึงการเขียนโปรแกรมติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่ได้ทดสอบแล้วว่าทำงานได้จริง บทความแรกนี้จะเป็นการทดลองอ่านค่าจากเซนเซอร์สำหรับวัดแรงกด

แนะนำหนังสือ “ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266”

ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) คงมีน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เ...