
โดยการแพร่หลายอย่างรวดเร็วของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันผนวกกับความก้าวหน้าด้านฮาร์ดแวร์ทำให้การพัฒนาอุปกรณ์ที่เรียกว่า IoT (Internet of Things) ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้อุปกรณ์เกือบทั้งหมดที่ล้อมรอบตัวเราจะสามารถเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย ทำให้การตรวจสอบและควบคุมสามารถทำได้จากทุกพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้
ESP 8266 จากบริษัท Espressif Systems เป็นฮาร์ดแวร์ระบบฝังตัวที่มีราคาถูกและหาซื้อได้ทั่วไป จุดเด่นคือมีโมดูลสื่อสารผ่านระบบ WiFi ในตัว และสามารถพัฒนาโดยใช้ซอฟต์แวร์ของ Arduino โดยเพิ่มไลบรารีเข้าไป ทำให้เหมาะสมกับการสร้างอุปกรณ์ IoT
หนังสือ “ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266” นี้ได้รับแรงจูงใจจากคอร์สอบรมบอร์ดที่ผลิตในประเทศไทย ผนวกกับประสบการณ์ในการพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมฝังตัวของผู้เขียน โดยเห็นว่าบทความและเอกสารภาษาไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมุ่งเน้นงานประเภทเก็บข้อมูลและแสดงผล หรือการสั่งงานในลักษณะปิดเปิดเป็นหลัก ในขณะที่งานอุตสาหกรรมหลายประเภทต้องอาศัยระบบควบคุมป้อนกลับ เช่น เครื่องซีเอ็นซี หุ่นยนต์ การควบคุมระดับน้ำ แรงดัน หรือกระบวนการทางเคมี ซึ่งทำให้อัลกอรึทึมบนระบบฝังตัวมีความซับซ้อนมากขึ้น และต้องใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์เช่นไทเมอร์เพื่อความแม่นยำในการสุ่มสัญญาณ ดังนั้นหนังสือจึงเน้นการอิมพลิเมนต์ระบบควบคุมป้อนกลับที่สามารถสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตั้งชื่อว่า IoFC (Internet of Feedback Controller) โดยคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้พัฒนางานควบคุมอุตสาหกรรม
ชื่อหนังสือ: ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266
ผู้แต่ง: ดร.วโรดม ตู้จินดา
ปรับปรุงครั้งที่ 1 : พย. 2560
จำนวนหน้า : 104 หน้า
มีจำหน่ายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ Ookbee เท่านั้น
เนื้อหา
- คำนำ
- สารบัญ
- บทที่ 1 - บทนำ
- บทที่ 2 - โปรแกรม ESP8266 โดย Arduino IDE
- บทที่ 3 - ตัวควบคุมป้อนกลับบนระบบฝังตัว
- บทที่ 4 - การเชื่อมต่อ WiFi และอินเทอร์เน็ต
- บทที่ 5 - การใช้งานร่วมกับ NETPIE
- บทที่ 6 - ต่อยอดการพัฒนาบน NETPIE
- ภาคผนวก A - การตั้งค่าและใช้งาน Arduino IDE
- ภาคผนวก B - รายละเอียดและการใช้งานบอร์ด LAG3
ซอฟต์แวร์
iofc_sw.zip ตัวอย่างโปรแกรมทั้งหมดที่ใช้ในหนังสือ
รวมที่ผิดในหนังสือ
พบเห็นที่ผิดกรุณาแจ้งทางอีเมล์ dewdotninja@gmail.com
Update
เพื่อความสะดวกในการทดลองโปรแกรม เราได้ออกแบบแผ่น PCB สำหรับฮาร์ดแวร์ที่ใช้ประกอบหนังสือนี้ คือวงจรออปแอมป์ในรูปที่ 1.4 รวมคอนเนกเตอร์ที่ใช้สำหรับจอแสดงผล OLED นอกจากนี้ยังสร้างเผื่อรองรับการทดลองอื่นๆ เช่นคอนเนกเตอร์สำหรับเสียบ force sensor และ RGB LED
ลักษณะของ PCB ก่อนและหลังลงอุปกรณ์เป็นดังนี้

การต่อใช้งานร่วมกับบอร์ด ESPino

Schematics

การลงอุปกรณ์

ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด Gerber zip files ด้านล่างนี้และสั่งทำ PCB ได้เลย
No comments:
Post a Comment