ดิว.นินจา

ดิว.นินจา

iofcws - หนังสือตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266 และ ESP32

IoFCWS Cover

หน้าเพจนี้สำหรับหนังสือปรับปรุงล่าสุด ที่แจกให้กับผู้เข้าอบรมของ dew.ninja เท่านั้น ยังไม่มีวางจำหน่ายที่ใด

โดยการแพร่หลายอย่างรวดเร็วของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันผนวกกับความก้าวหน้าด้านฮาร์ดแวร์ทำให้การพัฒนาอุปกรณ์ที่เรียกว่า IoT (Internet of Things) ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้อุปกรณ์เกือบทั้งหมดที่ล้อมรอบตัวเราจะสามารถเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย ทำให้การตรวจสอบและควบคุมสามารถทำได้จากทุกพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้

ESP 8266 และ ESP32 จากบริษัท Espressif Systems เป็นฮาร์ดแวร์ระบบฝังตัวที่มีราคาถูกและหาซื้อได้ทั่วไป จุดเด่นคือมีโมดูลสื่อสารผ่านระบบ WiFi ในตัว และสามารถพัฒนาโดยใช้ซอฟต์แวร์ของ Arduino โดยเพิ่มไลบรารีเข้าไป ทำให้เหมาะสมกับการสร้างอุปกรณ์ IoT

หนังสือ "ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266 และ ESP32" นี้ได้รับแรงจูงใจจากคอร์สอบรมเบื้องต้นในประเทศไทย ผนวกกับประสบการณ์ในการพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมฝังตัวของผู้เขียน โดยเห็นว่าบทความและเอกสารภาษาไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมุ่งเน้นงานประเภทเก็บข้อมูลและแสดงผล หรือการสั่งงานในลักษณะปิดเปิดเป็นหลัก ในขณะที่งานอุตสาหกรรมหลายประเภทต้องอาศัยระบบควบคุมป้อนกลับ เช่น เครื่องซีเอ็นซี หุ่นยนต์ การควบคุมระดับน้ำ แรงดัน หรือกระบวนการทางเคมี ซึ่งทำให้อัลกอรึทึมบนระบบฝังตัวมีความซับซ้อนมากขึ้น และต้องใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์เช่นไทเมอร์เพื่อความแม่นยำในการสุ่มสัญญาณ ดังนั้นหนังสือจึงเน้นการอิมพลิเมนต์ระบบควบคุมป้อนกลับที่สามารถสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตั้งชื่อว่า IoFC (Internet of Feedback Controller) โดยคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้พัฒนางานควบคุมอุตสาหกรรม


ชื่อหนังสือ: ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266 และ ESP32

ผู้แต่ง: ดร.วโรดม ตู้จินดา

จำนวนหน้า : 200 หน้า

ใช้ในการฝึกอบรมเท่านั้น

เนื้อหา

  • คำนำ
  • สารบัญ
  • บทที่ 1 - บทนำ
  • บทที่ 2 - โปรแกรม ESP8266 โดย Arduino IDE
  • บทที่ 3 - ตัวควบคุมป้อนกลับบนระบบฝังตัว
  • บทที่ 4 - การเชื่อมต่อ WiFi และอินเทอร์เน็ต
  • บทที่ 5 - การใช้งานร่วมกับ NETPIE
  • บทที่ 6 - ต่อยอดการพัฒนาบน NETPIE
  • บทที่ 7 - การพัฒนาบน ESP32
  • บทที่ 8 - การโปรแกรมโมดูลพื้นฐานของ ESP32
  • บทที่ 9 - สมรรถนะของตัวประมวลผล
  • บทที่ 10 - ระบบเรียลไทม์
  • บทที่ 11 - การใช้งาน FreeRTOS เบื้องต้น
  • บทที่ 12 - ตัวควบคุมการเคลื่อนที่
  • ภาคผนวก A - การตั้งค่าและใช้งาน Arduino IDE
  • ภาคผนวก B - รายละเอียดและการใช้งานบอร์ด LAG3

ซอฟต์แวร์

iofcws_sw.zip

No comments:

Post a Comment

แนะนำหนังสือ “ตัวควบคุมป้อนกลับบนอินเทอร์เน็ตโดย ESP8266”

ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) คงมีน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เ...